เมนู

อรรถกถาทรีมุขชาดกที่ 3



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
มหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปงฺโกว กาม ดังนี้
เรื่องในปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง.
ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มคธราช ครองราช
สมบัติที่อยู่ในนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ได้ถือกำเนิดใน
พระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์. พระญาติทั้งหลายได้ถวาย
พระนามพระองค์ว่า พรหมทัตกุมาร. ในวันที่พระราชกุมารประสูติ
นั่งเอง ฝ่ายบุตรของปุโรหิต ก็เกิด. ใบหน้าของเด็กนั้น สวยงามมาก
เพราะเหตุนั้นญาติของเขา จึงได้ตั้งชื่อของเด็กนั้นว่า ทรีมุข. กุมาร
ทั้ง 2 นั้น เจริญเติบโตแล้ว ในราชตระกูลนั้นเอง. ทั้งคู่นั้น
เป็นสหายรักของกัน เวลามีชนมายุ 16 ชันษา ได้ไปยังเมืองตักกศิลา
เรียนศิลปะทุกอย่างแล้ว พากันเที่ยวไปในตามนิคมเป็นต้น ด้วยความ
ตั้งใจว่า จักพากันศึกษาลัทธิทุกลัทธิ และจักรู้จารีตของท้องถิ่นด้วย
ถึงเมืองพาราณสี พักอยู่ที่ศาลเจ้า รุ่งเช้าพากันเข้าไปเมืองพาราณสี
เพื่อภิกษา. ตนในตระกูล ๆ หนึ่ง ในเมืองพาราณสีนั้น ตั้งใจว่า พวก
เราจักเลี้ยงพราหมณ์ แล้วถวายเครื่องบูชา จึงหุงข้าวปายาส แล้วปู
อาสนะไว้. คนทั้งหลายเห็นคนทั้ง 2 นั้น กำลังเที่ยวภิกขาจาร เข้า
ใจว่า พราหมณ์มาแล้ว จึงให้เข้าไปในบ้าน ปูผาขาวไว้สำหรับพระ-

มหาสัตว์ ปูผ้ากัมพลแดงไว้สำหรับทรีมุขกุมาร. ทรีมุขกุมารเห็นนิมิตร
นั้นแล้ว รู้ชัดว่า วันนี้สหายของเราจักเป็นพระเจ้าพาราณสี ส่วนเรา
จักเป็นเสนาบดี. ทั้ง 2 ท่านบริโภค ณ นั้น แล้วรับเอาเครื่องบูชา
กล่าวมงคลแล้วออกไป ได้พากันไปถึงพระราชอุทยานนั้น. ในจำนวน
คนทั้ง 2 นั้น พระมหาสัตว์บรรทมแล้ว บนแผ่นศิลามงคล ส่วน
ทรีมุขกุมารนั่งนวดพระบาทของพระมหาสัตว์นั้น วันนั้น เป็นวันที่ 7
แห่งการสวรรคตของพระเจ้าพาราณสี. ปุโรหิต ถวายพระเพลิงพระศพ
แล้ว ได้เสี่ยงบุษยราชรถในวันที่ 7 เพราะราชสมบัติไม่มีรัชทายาท.
กิจเกี่ยวกับบุษยราชรถ จักมีแจ้งชัด ในมหาชนกชาดก. บุษยราชรถ
ออกจากพระนครไป มีจตุรงคเสนาห้อมล้อม พร้อมด้วยดุริยางค์หลาย
ร้อย ประโคมขัน ถึงประตูพระราชอุทยาน. ครั้งนั้น ทรีมุขกุมาร
ได้ยินเสียงดุริยางค์ แล้วคิดว่า บุษยราชรถมาแล้ว เพื่อสหายของเรา
วันนี้สหายของเราจักเป็นพระราชา แล้วประทานตำแหน่งเสนาบดี
แก่เรา เราจักประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เราจักออกบวช ดังนี้
แล้ว จึงไม่ทูลเชิญพระโพธิสัตว์ เลยไปยังที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วได้
ยืนอยู่ในที่กำบัง. ปุโรหิตหยุดรถที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเข้าไปยัง
พระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์บรรทมบนแผ่นศิลามงคล ตรวจดู
ลักษณะที่เท้าลายพระบาท แล้วทราบว่า เป็นคนมีบุญ สามารถครอง
ราชสมบัติ สำหรับมหาทวีปทั้ง 4 มีทวีปน้อย 2 พันเป็นบริวารได้

แต่คนเช่นนี้ คงเป็นคนมีปัญญาเครื่องทรงจำ จ่งได้ประโคมดุริยางค์
ทั้งหมดขึ้น. พระโพธิสัตว์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงนำผ้าสาฎกออกจาก
พระพักตร์ ทรงทอดพระเนตรเห็นมหาชน แล้วทรงเอาผ้าสาฎกปิด
พระพักตร์อีก บรรทมหน่อยหนึ่ง ระงับความกระวนกระวาย แล้ว
เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา. ปุโรหิตคุกเข่าลงแล้ว
ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติ กำลังตกถึงพระองค์.
พ. ราชสมบัติไม่มีรัชทายาทหรือ ?
ปุ. ไม่มีพระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าอย่างนั้น ก็ดีแล้ว จึงทรงรับไว้.
ประชาชนเหล่านั้น ได้พากันทำการอภิเษก พระโพธิสัตว์นั้น
ที่พระราชอุทยานนั่นอง. พระองค์มิได้ทรงรำลึกถึงทรีมุขกุมาร เพราะ
ความมียศมา. พระองค์เสด็จขึ้นพระราชรถ มีบริวารห้อมล้อม เข้า
ไปสู่พระนคร ทรงการทำปทักษิณ แล้วประทับยืนที่ประตูพระราช-
นิเวศน์นั่นเอง ทรงพิจารณาถึงฐานันดรของอำมาตย์ทั้งหลาย แล้ว
เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. ขณะนั้น ทรีมุขกุมาร คิดว่า บัดนี้ พระราชอุทยาน
ว่างแล้ว จึงมานั่งที่ศิลามงคล. ลำดับนั้น ใบไม้เหลืองได้ร่วงลงมา
ข้างหน้าของเขา. เขาเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไป ในใบไม้เหลือง
นั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ให้แผ่นดินกึกก้องไป พร้อมกับให้พระ-
ปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้น ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของท่าน ก็

อันตรธานไป. บาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ล่องลอยมาจากอากาศ
สวมที่สรีระของท่าน. ทันใดนั้นนั่นเอง ท่านก็เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร 8
สมบูรณ์ด้วยอิริยาบท เป็นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาร้อยพรรษา เหาะ
ไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ได้ไปยังเงื้อมนันทมูลกะในท้องถิ่นป่าหิมพานต์.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสวยราชสมบัติโดยธรรม. แต่เพราะเป็นผู้มียศมาก
จึงทรงเป็นผู้มัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงรำลึกถึงทรีมุขกุมาร เป็นเวลาถึง
40 ปี. แต่เมื่อเวลาเลย 40 ปี ผ่านไปแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงเขา
แล้ว จึงตรัสว่า ฉันมีสหายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า ทรีมุข เขาอยู่ที่ไหน
หนอ ? ดังนี้แล้ว มีพระราชประสงค์จะพบพระสหายนั้น. จำเดิมแต่
นั้นมา พระองค์ก็ตรัสถามหา ภายในเมืองบ้าง ท่ามกลางบริษัทบ้าง
ว่า ทรีมุขกุมาร สหายของฉันอยู่ที่ไหน ? ผู้ใดบอกที่อยู่ของเขาแก่ฉัน
ฉันจะให้ยศสูงแก่ผู้นั้น. เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงเขาอยู่บ่อย ๆ อย่างนี้
นั่นแหละ ปีอื่น ๆ ได้ผ่านไปถึง 10 ปี. โดยเวลาผ่านไปถึง 50 ปี
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทรีมุข ทรงรำลึกถึงอยู่ ก็ทรง
ทราบว่า สหายรำลึกถึงเราอยู่แล แล้วทรงดำริว่า บัดนี้ พระโพธิสัตว์
นั้น ทรงพระชรา จำเริญด้วยพระโอรสพระธิดา เราจักไปแสดงธรรม
ถวายให้พระองค์ทรงผนวช ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จมาทางอากาศ ด้วย
ฤทธิ์ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งบนแผ่นศิลา เหมือนพระพุทธรูปทองคำ
ก็ปานกัน. เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยาน เห็นท่านแล้ว เข้าไปเฝ้า
ทูลถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากที่ไหน ?

พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสตอบว่า มาจากเงื้อมเขานันทมูลกะ
จ. ท่านเป็นใคร ?
พ. อาตมภาพ คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ทรีมุข โยม.
จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรู้จักในหลวงของข้า
พระองค์ทั้งหลายไหม ?
พ. รู้จักโยม เวลาเป็นคฤหัสถ์ พระองค์ทรงเป็นสหายของ
อาตมา.
จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในหลวงมีพระราชประสงค์จะพบ
พระองค์ ข้าพระองค์ จักทูลบอกว่า พระองค์เสด็จมาแล้ว.
พ. เชิญโยม ไปทูลบอกเถิด.
จ. รับพระบัญชาแล้ว รีบด่วนไปทีเดียว ทูลในหลวงถึงความ
ที่พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่แผ่นศิลาแล้ว.
ในหลวงตรัสว่า ได้ทราบว่า พระสหายของฉันมาแล้ว ฉันจัก
ไปเยี่ยมท่าน แล้วเสด็จขึ้นรถไปยังพระราชอุทยาน พร้อมด้วยข้าราช-
บริพารจำนวนมาก ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ทำการปฏิสันถาร แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงทำ
ปฏิสันถารกะพระองค์ พลางทูลคำมีอาทิว่า ขอถวายพระพร พระเจ้า
พรหมทัต พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ ? ไม่ทรงลุ

อำนาจอคติหรือ ? ไม่ทรงเบียดเบียนประชาสัตว์ เพื่อต้องการทรัพย์
หรือ ? ทรงบำเพ็ญบุญ มีทานเป็นต้นอยู่หรือ ? ดังนี้แล้ว ทูลว่า
ขอถวายพระพรพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงพระชราภาพแล้ว บัดนี้
เป็นสมัยของพระองค์ที่จะทรงละกาม เสด็จออกผนวชแล้ว. เมื่อจะทรง
แสดงธรรมถวายพระองค์ จึงได้ทูลคาถาที่ 1 ว่า :-
กามทั้งหลายเหมือนหล่ม กามทั้งหลาย
เหมือนพุ ก็อาตมาภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่ามีมูล 3
ธุลีและควัน อาตมาภาพก็ได้ถวายพระพรแล้ว
ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัตมหาบพิตร ขอพระองค์
จงทรงละสิ่งเหล่านั้น เสด็จออกผนวชเถิด.

บรรดาบสเหล่านั้น บทว่า ปงฺโก พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัส
หมายถึง พืชทั้งหลาย มีหญ้า สาหร่าย ไม้อ้อและกอหญ้าเป็นต้น
ที่เกิดขึ้นในน้ำ. อุปมาเหมือนหนึ่งว่า พืชเหล่านั้น ยังมีกำลังน้ำ ให้
ติดอยู่ฉันใด เบญจกามคุณทั้งหลาย หรือว่า วัตถุกามและกิเลสกาม
ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปลัก คือปังกะ ด้วยอำนาจยังพระโยคาวจร
ผู้กำลังข้ามสงสารสาคร ให้ติดข้องอยู่. เพราะว่า เทวดาก็ตาม มนุษย์
ก็ตาม สัตว์เดียรฉานทั้งหลายก็ตาม ผู้ข้องแล้ว ติดแล้ว ในปลักนั้น
จะลำบาก ร้องไห้ คร่ำครวญอยู่. ที่หล่มใหญ่ พระปัจเจกพุทธเจ้า

ตรัสเรียกว่า พุ คือปลิปะ ในคำว่า ปลิโปว กามา ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
มีสุกรและเนื้อเป็นต้นก็ตาม สิ่งโตก็ตาม ช้างก็ตาม ที่ติดแล้ว ไม่
สามารถจะถอนตนขึ้น แล้วไปได้, ก็วัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย
ท่านเรียกว่า ปลิปะ เพราะเป็นเสมือนกับพุนั้น. เพราะว่า สัตว์
ทั้งหลาย ถึงจะมีบุญก็ไม่สามารถทำลายกามเหล่านั้น รีบลุกขึ้น แล้ว
เข้าไปสู่การบรรพชาที่ไม่มีกังวล ไม่มีปลิโพธ เป็นที่รื่นรมย์ ได้เริ่มต้น
แต่เวลาติดอยู่คราวเดียว ในกามทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า ภยญฺจ เมตํ
ได้แก่ ภยญฺจ เอตํ และอาตมาภาพได้กล่าวภัยนี้ อักษร ท่าน
กล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งการต่อบท ด้วยพยัญชนะ. บทว่า ติมูลํ
ความว่า ไม่หวั่นไหว เหมือนตั้งมั่นอยู่ด้วยราก 3 ราก. คำนี้ เป็นชื่อ
ของภัยที่มีกำลัง. บทว่า ปวุตฺตํ ความว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร
ขึ้นชื่อว่า กามเหล่านี้ ทั้งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธ-
สาวกทั้งหลาย ทั้งพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นสัพพัญญูทั้งหลาย ตรัสแล้ว
คือทรงบอกแล้ว อธิบายว่า ทรงแสดงไว้แล้วว่า ชื่อว่าเป็นภัยมี
กำลัง เพราะหมายความว่า เป็นปัจจัยแห่งภัย ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และสัมปรายิกภพ มีภัยคือการติเตียนตนเองเป็นต้น และที่เป็นไปแล้ว
ด้วยสามารถแห่งกรรมกรณ์ 32 ประการ และโรค 78 ชนิด. อีก
อย่างหนึ่ง. บทว่า ภยญฺจ เมตํ ความว่า ก็อาตมาภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่า
มีมูล 3 พึงทราบเนื้อความในบทนี้ ดังที่พรรณนามานี้นั่นเอง. บทว่า

รโช จ ธูโม จ ความว่า กามทั้งหลาย อาตมาภาพประกาศไว้แล้วว่า
เป็นธุลีด้วย เป็นควันด้วย เพราะเป็นเช่นกับด้วยธุลีและควัน. อุปมา
เหมือนหนึ่งว่า ร่างกายของชายที่อาบน้ำสะอาดแล้ว ลูบไล้และตกแต่ง
ดีแล้ว แต่มีฝุ่นที่ละเอียดตกลงที่ร่างกาย จะมีสีคล้ำ ปราศจากความ
งาม ทำให้หม่นหมอง ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน แม้มาแล้ว โดยทางอากาศเหาะได้ ด้วยกำลังฤทธิ์ ปรากฏแล้ว
ในโลก เหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็มีสีมัวหมอง ปราศจาก
ความงาม เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว เริ่มแต่เวลาที่ธุลี คือกามตกลงไป
ในภายในครั้งเดียว เพราะคุณความดี คือสี คุณความดี คือความงาม
และคุณความดี คือความบริสุทธิ์ ถูกขจัดแล้ว. อนึ่ง คนทั้งหลาย
แม้จะสะอาด ดีแล้ว ก็จะมีสีดำเหมือนฝาเรือน เริ่มต้นแต่เวลา ถูก
ควันรม ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีญาณ
บริสุทธิ์เหลือเกิน ก็จะปรากฏเป็นเหมือนคนผิวดำ ท่ามกลางมหาชน
ทีเดียว เพราะถึงความพินาศแห่งคุณความดี เริ่มต้นแต่เวลาที่ถูกควัน
คือกามารมณ์ ดังนั้น กามเหล่านี้ อาตมภาพ จึงประกาศแก่มหาบพิตร
ว่า เป็นทั้งธุลี เป็นทั้งควัน เพราะเป็นเช่นกับด้วยธุลีและควัน
เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทรงให้พระราชาทรงเกิดอุตสาหะ
ในการบรรพชา ด้วยพระดำรัสว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระราชสมภาร
พรหมทัตเจ้า ขอพระองค์ จงทรงละกามเหล่านี้ ทรงผนวชเถิด

พระราชา ครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกความที่
พระองค์ทรงคิดอยู่ ด้วยกิเลสทั้งหลาย จึงตรัสคาถาที่ 2 ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ โยมทั้งกำหนัด ทั้ง
ยินดี ทั้งสยบอยู่ในกามทั้งหลาย ต้องการมี
ชีวิตอยู่ ไม่อาจละกามนั้น ที่มีรูปสะพึงกลัว
ได้ แต่โยมจักทำบุญไม่ใช่น้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคธิโต ได้แก่ ถูกกายคันถะ คือ
อภิชฌาผูกมัดไว้. บทว่า รตฺโต ได้แก่ ถูกราคะย้อมใจแล้ว. บทว่า
อธิมุจฺฉิโต ได้แก่ สลบไสลไปมากเหลือเกิน. บทว่า กาเมสฺวาหํ
ความว่า โยมยังติดอยู่ในกามทั้ง 2. พระราชาตรัสเรียก พระทรีมุข-
ปัจเจกพุทธเจ้าว่า พราหมณ์. บทว่า ภึสรูปํ ได้แก่ มีรูปมีพลัง.
บทว่า ตํ นุสฺสเห ความว่า โยมไม่อาจ คือไม่สามารถละกามทั้ง 2
อย่างนั้นได้. ด้วยคำว่า ชีวิกตฺโก ปาหาตุํ พระราชาตรัสว่า โยมยัง
ต้องการความเป็นอยู่นี้ จึงไม่อาจละกามนั้นได้. บทว่า กาหามิ
ปุญฺญานิ
ความว่า แต่โยมจักทำบุญ คือทานศีลและอุโบสถกรรม
ไม่น้อย คือมาก ดังนี้. ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้มีกิเลสกามอย่างนี้ ไม่สามารถ
จะนำออกไปจากใจได้ เริ่มต้นตั้งแต่เวลาที่ติดอยู่คราวเดียว พระมหา-
บุรุษผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสอันใดเล่า แม้เมื่อพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ตรัสถืงคุณของบรรพชาแล้ว ก็ยังตรัสว่า โยมไม่สามารถจะ

บวชได้ พระเจ้าพรหมทัตพระองค์นี้ใด เมื่อทรงตรวจตราดูพุทธการก-
ธรรม ด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นในพระองค์ แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า ทีปังกร ทรงเห็นเนกขัมมบารมีที่ 3 แล้ว จึงทรง
สรรเสริญคุณในเนกขัมมะอย่างนี้ว่า :-
ถ้าพระองค์ปรารถนาบรรลุโพธญาณไซร้
พระองค์จงสมาทานบารมีที่ 3 นี้ไว้ให้มั่นคง
ก่อน แล้วจึงไปสู่เนกขัมมบารมี. คนที่อยู่
ในเรือนจำมานาน ๆ ถึงความทุกข์ จะไม่ให้
ความยินดีเกิดขึ้นในเรือนจำนั้น จะแสวงหา
ทางพ้นทุกข์อย่างเดียวฉันใด พระองค์ก็เช่น
นั้นเหมือนกัน จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือน-
จำ เป็นผู้บ่ายหน้าสู่เนกขัมมะแล้ว จักบรรลุ
สัมมาสัมโพธิญาณ.

พระเจ้าพรหมทัตนั้น แม้เป็นผู้ที่พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัส
สรรเสริญการบรรพชา แล้วถวายพระพรว่า ขอมหาบพิตร จะทรง
ทอดทิ้งกิเลสทั้งหลาย แล้วทรงเป็นสมณะเถิด. จึงตรัสว่า โยมไม่
อาจจะทอดทิ้งกิเลสเป็นสมณะได้.

ได้ทราบว่าคนบ้าในโลกนี้มี 8 จำพวก เพราะฉะนั้นโบราณา-
จารย์ จึงได้กล่าวไว้ว่า คนที่ได้สัญญาว่าเป็นบ้ามี 8 จำพวก คือ :-
1. บ้ากาม (กามุมฺมตฺตโก) มัวเมาในกาม คือ :-
- ตกอยู่ใต้อำนาจจิต (จิตฺตวสงฺคโต) ของผู้อื่น
- ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ (โลภวสงฺคโต)
2. บ้าโกรธผู้อื่น (โกธุมฺมตฺตโก) คือ :-
- ตกอยู่ใต้อำนาจวิหึสา (วิหึสาวสงฺคโต) คนอื่น
3 บ้าความเห็น (ทิฏฺฐุมฺมตฺตโก) บ้าทฤษฎีหรือบ้าลัทธิ
- ตกอยู่ใต้อำนาจความเข้าใจผิด (วิปลฺลาสวสงฺคโต)
4 บ้าความหลง (โมหุมฺมตฺตโก) คือ :-
- ตกอยู่ในอำนาจความไม่รู้
5 บ้ายักษ์ (ยกฺขุมฺมตฺตโก) คือ :-
- ตกอยู่ในอำนาจยักษ์ (ยกฺขวสงฺคโต)
6 บ้าดีเดือด (ปิตฺตุมฺมตฺตโก) คือ :-
- ตกอยู่ในอำนาจของดี (ปิตฺตวสงฺคโต)
7 บ้าสุรา (สุรุมฺมตฺตโก) คือ :-
- ตกอยู่ใต้อำนาจการดื่ม (ปานนวสงฺคโต)

8. บ้าเพราะความสูญเสีย (พฺยสมุมฺมตฺตโก) คือ :-
- ตกอยู่ใต้อำนาจของความเศร้าโศก (โสกวสฺคโต)
ในจำนวนบ้า 8 จำพวกเหล่านี้ พระมหาสัตว์ ในชาดกนี้เป็น
ผู้บ้ากามตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ จึงไม่รู้คุณของบรรพชา. ถามว่า
ก็โลภะนี้ ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำลายคุณความดี ด้วยประการ
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่เหุตุไฉนสัตว์ทั้งหลาย จึงไม่อาจหลุดพ้นไปได้.
ตอบว่า เพราะความโลภนั้นเจริญมาแล้ว โดยรวมกันเป็นเวลาหลาย
แสนโกฏิกัปป์ ในสงสารที่ไม่มีใครตามพบเงื่อนต้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้
แล้ว บัณฑิตทั้งหลาย จึงละด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาหลายอย่าง
มีอาทิว่า กามทั้งหลายมีความชื่นใจน้อย.
แม้เมื่อพระมหาสัตว์นั้นนั่นเอง ตรัสว่า โยมไม่อาจจะบวชได้
พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่ทรงทอดธุระ เมื่อจะถวายพระโอวาท
ให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสคาถา 2 คาถาไว้ว่า :-
ผู้ที่ถูกผู้มุ่งประโยชน์ อนุเคราะห์ด้วย
ประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ แต่ไม่ทำ
ตามคำสอน เป็นคนโง่ สำคัญว่าสิ่งนี้เท่านั้น
ประเสริฐกว่าสิ่งอื่น จะเข้าถึงครรภ์สัตว์ แล้ว ๆ
เล่า ๆ จะเข้าถึงนรก ชนิดร้ายกาจ เหล่าสัตว์
ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ในกามทั้งหลายติดแล้ว

ในกายของตนละยังไม่ได้ ซึ่งที่ที่ไม่สะอาด
ของผู้สะอาดทั้งหลาย ที่เต็มไปด้วยมูตร
และคูถ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถกามสฺส ความว่า ผู้มุ่งความ
เจริญ. บทว่า หิตานุกมฺปิโน ความว่า ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์
เกื้อกูล คือด้วยจิตอ่อนโยน. บทว่า โอวชฺชมาโน ได้แก่ ถูกกล่าว
ตักเตือนอยู่. บทว่า อิทเมว เสยฺโย ความว่า สำคัญสิ่งที่ตนยึดถือ
ที่เป็นสิ่งไม่ประเสริฐกว่าทั้งไม่สูงสุด ว่าสิ่งนี้เท่านั้น เป็นสิ่งประเสริฐ
กว่าสิ่งอื่น. บทว่า มนฺโท ความว่า ผู้นั้นจะเป็นคนไม่มีความรู้ จะ
ก้าวล่วงการอยู่ในครรภ์มารดาไปไม่ได้ อธิบายว่า จะเข้าถึงครรภ์แล้ว ๆ
เล่า ๆ นั่นเอง. บทว่า โส โฆรรูปํ ความว่า ขอเจริญพรมหาบพิตร
คนโง่นั้น เมื่อเข้าถึงครรภ์มารดานั้น ชื่อว่า เข้าถึงนรกชนิดร้ายกาจ
คือที่ทารุณโดยกำเนิด อธิบายว่า ท้องของมารดาพระปัจเจกพุทธเจ้า
ตรัสเรียกว่า นรก คือตรัสเรียกว่า จตุกุฏฏิกนรก คือด้านแคบ ๆ
4 ด้าน. ในพระคาถานี้ เพราะหมายความว่า หมดความชื่นใจ.
ธรรมดาว่า จตุกุฏฏิกนรก เมื่อถูกถามว่า เป็นอย่างไร ? ควรบอกว่า
คือท้องมารดานั่นเอง. เพราะว่า สัตว์ที่เกิดแล้ว ในอเวจีมหานรก
มีการวิ่งพล่านและวิ่งรอบไป ๆ มา ๆ ได้ทีเดียว เพราะฉะนั้น อเวจี
มหานรกนั้น จะเรียกว่า จตุกุฏฏิกนรกไม่ได้. แต่ว่า ในท้องมารดา
สัตว์ที่เกิดในครรภ์ไม่อาจจะวิ่งไปตามข้างทั้ง 4 และทางโน้นทางนี้ได้

ตลอดเวลา 9 หรือ 10 เดือน. จำต้องประสงค์เป็น 4 ด้าน คือเป็น 4
มุม ในโอกาสอันคับแคบ เพราะฉะนั้น นรกนั้นจึงเรียกกันว่า
จตุกุฏฏิกนรก. บทว่า สุภาสุภํ ได้แก่ที่ ๆ ไม่สะอาด สำหรับ
พระโยคาวจรผู้สะอาดทั้งหลาย. อธิบายว่า ท้องมารดาสมมุติว่าเป็นที่
ไม่สะอาดโดยส่วนเดียว สำหรับผู้งดงามทั้งหลาย คือพระโยคาวจร
กุลบุตรทั้งหลายผู้กลัวสงสาร. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-
น่าตำหนิโดยแท้ สำหรับผู้ไม่เห็นรูปที่
ไม่น่าดู ว่าได้แก่ที่น่าดู ที่ไม่สะอาดแต่สมมติ
ว่าสะอาด ที่บริบูรณ์ด้วยซากศพต่าง ๆ แต่
ว่าเป็นรูปน่าดู. ไม่เห็นกายที่เปื่อยเน่า ที่
กระสับกระส่ายนี้ ที่มีกลิ่นเหม็นไม่สะอาด
มีการเจ็บไข้เป็นธรรมดา เป็นที่ยังทางเพื่อการ
เกิดในสุคติ ให้เสื่อมหายไปแห่งเหล่าประชา
ผู้ประมาทแล้ว สลบไสลอยู่แล้ว.

บทว่า สตฺตา ได้แก่ ผู้เกาะเกี่ยว คือส่ายไปหา หมายความว่า
ติด อธิบายว่า ข้องแล้ว. บทว่า สกาเย น ชหนฺติ ความว่า ยังไม่ละทิ้ง
ท้องมารดานั้น. บทว่า คิทฺธา ได้แก่ กำหนดแล้วนั่นเอง. บทว่า เย
โหนฺติ
ความว่า เหล่าชนผู้ไม่ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย จะไม่
ละทิ้งการอยู่ในครรภ์มารดานั้นไป.

พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงทุกข์ ทั้งที่มีการ
ก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลฐาน ทั้งที่มีการบริหารเป็นมูลฐานแล้ว บัดนี้
เพื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์ที่มีการออกจากครรภ์เป็นมูลฐาน จึงได้ตรัส
คาถาหนึ่งกับถึงคาถาไว้ว่า :-
สัตว์ทั้งหลายเลอะอุจจาระ เปื้อนเลือด
เลอะไขออกมา เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถูกต้อง
สิ่งใด ๆ ด้วยกายอยู่ในขณะใด ในขณะนั้น
เองก็สัมผัสผองทุกข์ล้วน ๆ ที่ไม่มีความแช่ม
ชื่นเลย. อาตมาภาพเห็นแล้ว จึงได้ทูลถวาย
พระพร ไม่ได้ฟังจากผู้อื่นทูลถวายพระพร
แต่อาตมาภาพระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมา
เป็นจำนวนมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิฬฺเหน ลิตฺตา ความว่า ขอถวาย
พระพรมหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เมื่อคลอดจากท้องมารดาไม่ได้
ลูบไล้ด้วยคันธชาติทั้ง 4 ไม่ได้ประดับประดาดอกไม้ที่หอมหวลออกมา
แต่เป็นผู้เปื้อนเปรอะ คือเลอะเทอะคูถเก่าเน่าออกมา. บทว่า รุหิเรน
มกฺขิตา
ความว่า ไม่ใช่เป็นเสมือนชะโลมด้วยจันทน์แดงออกมา แต่
เปื้อนด้วยโลหิตแดงออกมา. บทว่า เสมฺเหน ลิตฺตา ความว่า ไม่ใช่
ลูบไล้ด้วยจันทน์ขาวออกมา แต่เป็นผู้เปื้อนไขเหมือนนุ่นหนา ๆ ออกมา

เพราะในเวลาผู้หญิงทั้งหลายคลอด ของไม่สะอาดทั้งหลายจะออกมา.
บทว่า ตาวเท ความว่า ในสมัยนั้น. มีอธิบายว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร สัตว์เหล่านี้ในเวลาที่ออกจากท้องมารดานั้น เปื้อนคูถ
เป็นต้น ออกมาอย่างนี้ กระทบช่องคลอดหรือมืออยู่ ย่อมชื่อว่า
สัมผัสทุกข์นั้นทั้งหมดล้วน ๆ คือที่เจือด้วยของไม่สะอาด ไม่เป็นที่
ยินดี คือไม่แช่มชื่น ชั้นชื่อว่าความสุขจะไม่มีแก่สัตว์เหล่านั้น
ในสมัยนั้น. บทว่า ทิสฺวา วทามิ น หิ อญฺญโต สวํ ความว่า
ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมภาพ เมื่อทูลถวายพระพรเท่านี้
ไม่ได้ฟังมาจากที่อื่น คือไม่ได้สดับคำนั้นของสมณะหรือพราหมณ์คนอื่น
ทูลถวาย อธิบายว่า แต่อาตมภาพเห็นแล้ว คือแทงตลอดแล้ว ได้แก่
ทำให้ประจักษ์แล้วด้วยปัจเจกโพธิญาณของตน แล้วจึงทูลถวายพระพร.
บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ พหุกํ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงถึงอานุภาพของตน จึงทูลถวายพระพรคำนี้. มีอธิบายว่า
ขอถวายพระพรมหาบพิตร ส่วนอาตมภาพระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัย
มา กล่าวคือ ขันธ์ที่อยู่อาศัยมาตามลำดับในชาติก่อนมากมาย คือระลึก
ได้ถึง 2 อสงไขยเศษแสนกัปป์.
บัดนี้ พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง ครั้นตรัสว่า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทรงสงเคราะห์พระราชาด้วยพระคาถาสุภาษิต
อย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกึ่งคาถาไว้ในตอนสุดท้ายว่า :-

พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ทรงยังพระ-
ราชาผู้ทรงมีพระปัญญาให้ทรงรู้พระองค์ ด้วย
พระคาถาทั้งหลาย ที่เป็นภาษิตมีเนื้อความ
วิจิตรพิสดาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺราหิ ความว่า อาศัยเนื้อความ
หลายหลาก. บทว่า สุภาสิตาหิ ได้แก่ ที่ตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า
ทรีมุโข นิชฺฌาปยี สุเมธํ. ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระทรีมุข-
ปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทรงให้พระราชานั้นผู้ทรงมีพระปัญญา คือทรงมี
ปัญญาดี ได้แก่ มีความสามารถรู้เหตุและมิใช่เหตุ ให้ทรงรู้พระองค์
คือให้ทรงสำนึกได้ อธิบายว่า ให้ทรงทำตามถ้อยคำของตน.
พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษในกามทั้งหลาย ทรง
ยังพระราชาให้ทรงถือเอาถ้อยคำของตนอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ขอถวาย
พระพรมหาบพิตร บัดนี้ พระองค์จะทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม
แต่ว่า อาตมาภาพได้แสดงโทษในกามทั้งหลายและอานิสงส์ในการบวช
ถวายมหาบพิตรแล้ว ขอมหาบพิตรจงอย่าทรงประมาท ดังนี้แล้ว ได้
ทรงเหาะไปในอากาศ ทรงเหยียบกลีบเมฆเสด็จไปยังเงื้อมเขานันท-
มูลกะนั่นเอง เหมือนพระยาหงส์ทองฉะนั้น. พระมหาสัตว์ทรงประคอง
อัญชลีที่รุ่งโรจน์ รวมทั้ง 10 นิ้ว ไว้บนพระเศียรนมัสการอยู่ เมื่อ
พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว จึงตรัสสั่งให้หาพระราช-

บุตรพระองค์ใหญ่ คือเจ้าฟ้าใหญ่มาเฝ้า ทรงมอบราชสมบัติให้ แล้ว
เมื่อมหาชนกำลังร้องไห้คร่ำครวญกันอยู่ ได้ทรงละกามทั้งหลาย เสด็จ
ไปสู่ป่าหิมพานต์ ทรงสร้างบรรณศาลา ผนวชเป็นฤาษี ไม่นานเลย
ก็ได้ทรงยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ในเวลาสิ้นพระชนมายุก็ได้
ทรงเข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาประกาศสัจจ-
ธรรม แล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในเวลาจบสัจจธรรม คนทั้งหลาย
ได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นมากมาย. พระราชาในครั้งนั้น ก็คือเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทรีมุขชาดกที่ 3

4. เนรุชาดก



ว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต



[849] กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี และพวกเรา
ผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลายก็ดี มาถึงภูเขาลูกนี้
แล้ว เป็นเหมือนกันหมด คือมีสีเหมือนกัน
หมด.
[850] ทั้งสิงห์โต ทั้งเสือ ทั้งนก หมาไน ก็
เป็นเหมือนกันหมด ภูเขานี้ชื่ออะไร ?
[851] คนทั้งหลายรู้จักภูเขาลูกนี้ว่า ชื่อว่า เนรุ
เป็นภูเขาชั้นยอดของภูเขาทั้งหลาย สัตว์ทุก
ชนิดอยู่ในภูเขานี้สีสวยหมด.
[852] ณ ที่ใดมีแต่ความไม่นับถือกัน การดูหมิ่น
สัตบุรุษ หรือการนับถือคนเลว ณ ที่นั้นคนมี
อำนาจไม่ควรอยู่.
[853] แต่ในภูเขาใด เขาบูชาทั้งคนเกียจคร้าน
ทั้งคนขยัน คนกล้าหาญ ทั้งคนขลาด สัตบุรุษ